thaiall logomy background สารสนเทศสำหรับนักเรียน และผู้ปกครอง
my town
sillapa_lampang

สารสนเทศสำหรับนักเรียน

สารสนเทศสำหรับนักเรียน คือ สิ่งที่นักเรียนควรรู้อย่างครบถ้วนและรอบด้าน แล้วพิจารณาปรับใช้เป็นแผนการดำเนินชีวิต และแผนการศึกษาที่เหมาะสมกับตนเอง โดยมีที่มาที่ไป มีแหล่งอ้างอิงที่สมเหตุสมผล ใช้ข้อมูลประสบการณ์ในอดีต แล้วนำมาพิจารณาเลือกปฏิบัติในปัจจุบันอย่างระมัดระวัง เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดในอนาคต ด้วยการสนับสนุนของคุณครู โรงเรียน และผู้ปกครอง
การศึกษา | นักศึกษา | Admission | GAT/PAT | ONET | 9 วิชาสามัญ | ครูคืนถิ่น | มหาวิทยาลัย | ห้องเรียนแห่งอนาคต | ทำนายเกรด | กยศ | พ.ร.บ. | อาชีพในฝัน |
สารสนเทศสำหรับนักเรียน สารสนเทศสำหรับนักเรียน (Student Information) ารสนเทศสำหรับนักเรียน คือ สิ่งที่นักเรียนควรรู้อย่างครบถ้วนและรอบด้าน แล้วพิจารณาปรับใช้เป็นแผนการดำเนินชีวิต และแผนการศึกษาที่เหมาะสมกับตนเอง โดยมีที่มาที่ไป มีแหล่งอ้างอิงที่สมเหตุสมผล ใช้ข้อมูลประสบการณ์ในอดีต แล้วนำมาพิจารณาเลือกปฏิบัติในปัจจุบันอย่างระมัดระวัง เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดในอนาคต ด้วยการสนับสนุนของคุณครู โรงเรียน และผู้ปกครอง
ความหมายของการศึกษา
ารศึกษา (Education) คือ กระบวนการที่สนับสนุนการเรียนรู้ หรือการได้มาซึ่งความรู้ ทักษะ คุณค่า ความเชื่อ และนิสัย วิธีการศึกษามีทั้ง การเล่าเรื่อง การทำกลุ่มอภิปราย การสอน การอบรม และการวิจัยทางตรง การศึกษามักเป็นการชี้แนะของผู้ให้การศึกษา แล้วผู้เรียนก็ต้องศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวของเขาควบคู่พร้อมกันไป การศึกษาสามารถจัดแบ่งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่จะทำให้เกิดประสบการณ์ เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อการคิด การรู้สึก หรือพฤติกรรม จึงถือว่าเป็นการศึกษา

สารสนเทศเกี่ยวกับสถาบันการศึกษา
1. http://gpa.moe.go.th/student2544/
โปรแกรมข้อมูลและสารสนเทศโรงเรียน (Students'2544 Program) เป็นโปรแกรมสำหรับในการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานและผลการเรียนของนักเรียนและจัดพิมพ์เอกสารทางการศึกษาต่าง ๆ
2. http://210.1.20.11/doc/
- เขตพื้นที่การศึกษาสังกัด สพฐ. มี 175 เขต
- มีสถานศึกษารวม 32,364 โรงเรียน
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. http://www.info.mua.go.th/information/ ***
- สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 78 แห่ง
- มหาวิทยาลัยเอกชน 34 แห่ง
- วิทยาลัยเอกชน 29 แห่ง/สถาบัน 5 แห่ง
- วิทยาลัยชุมชน จำนวน 19 แห่ง
4. กลุ่มโฮมเพจนักเรียน
- บุญวาทย์วิทยาลัย
- สตรีอ่างทอง
! ยุพราชวิทยาลัย
! ลำปางกัลยาณี
! อนุบาลลำปาง
! วิเชียรฯศึกษา
! ลูกรักเชียงของ
5. สถานีวิทยุออนไลน์ของโรงเรียน
! ร.ร.อนุบาลลำปาง (Windows Media Encoder)
! ร.ร.เถินวิทยา (Windows Media Encoder)
5. สุดยอดเว็บไซต์ เพื่อนักเรียน
- โครงการ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน (795 โรงเรียน)
! ภาพวาดของนักเรียน ด้วยสีเทียน (ระดับอนุบาล)
! โรงเรียนต้นแบบ โรงเรียนในฝัน
! ข้อมูล และผลงานโรงเรียนในฝัน
! Free Script for Student
! ศูนย์พัฒนาทักษะความคิด ..
6. ผลสอบเข้าโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
- 2558 เข้าชั้น ม.4 ในเขต
- 2553 เข้าชั้น ม.1 นอกเขต
- 2553 เข้าชั้น ม.1 ในเขต
- 2553 เข้าชั้น ม.4 นอกเขต
ระบบสอบถามคะแนน o-net รายบุคคล
เว็บไซต์สำหรับโรงเรียน
- โปรแกรมบริหารสถานศึกษา BEIS
- โปรแกรม Students'44 Version 1.1Y

กระทรวงศึกษาธิการ
! โครงการเว็บสร้างสรรค์และปลอดภัย
! ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
- สรุปสารสนเทศ สพฐ. ปี 2548
- จำนวนสถานศึกษา ที่สังกัด สพฐ. 32,364 (2548-11-10)
! http://210.1.20.11/doc/web_doc/index.php

ข้อมูลโรงเรียนในฝัน ของลำปาง
- http://www.labschools.com

ประกาศผล One School One Innovation
- osoi47.doc
- osoi49.doc
การศึกษาต้องมีค่าใช้จ่าย
บคำถามเรื่อง ชุดลูกเสือ ที่ผู้ปกครองต้องจ่ายสำหรับจัดหาให้นักเรียนสวมใส่ไปโรงเรียน แล้ว ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ ชวนตั้งคำถามใหม่ว่า เป้าหมายลูกเสือคืออะไร โดยชวนคิดอย่างสร้างสรรค์เปรียบเทียบใน 3 ประเด็น คือ แก่น เปลือก และภาระ เพราะการศึกษาที่ดี ภาครัฐควรจัดงบประมาณอุดหนุน เพื่อลดภาระผู้ปกครองให้มีภาระน้อยที่สุดตามกำลังของแต่ละครอบครัว สำหรับเรื่อง รายวิชาที่ควรบรรจุเข้าห้องเรียนในอนาคตนั้น ได้มีการประชุมพิจารณาขับเคลื่อน จนถึงการยกร่าง หลักสูตรฐานสมรรถนะ แล้วทดลองใช้ในโรงเรียนทั้งหมด 265 โรงเรียน นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 ซึ่งหลายโรงเรียนเป็นการดำเนินการใช้หลักสูตรนี้ต่อเนื่องมาจากปีการศึกษาที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าร่วมโครงการนำร่องมาก่อนแล้ว
าม คู่มือการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จัดทำโดย สำนักการคลังและสินทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พบหน้า 3 ที่จำแนกงบประมาณเพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนไว้ 5 กลุ่ม ดังนี้ 1) ค่าใช้จ่ายรายหัว 2) ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน 3) ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนประจำ 4) ค่าอาหารนักเรียนประจำ 5) ค่าอาหารนักเรียนไป-กลับ
สำหรับการเบิกจ่ายในโรงเรียนนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัว กาวางแผน การเบิกจ่าย การเคลียร์หลักฐานตามที่ได้เบิกจ่ายไปทำกิจกรรม และการตรวจสอบ เป็นหน้าที่ของคุณครูในโรงเรียนที่ช่วยกันดำเนินการ ควบคุม กำกับ ติดตาม และเขียนสรุปรายงานผล ตามที่ได้เบิก-จ่าย ว่าตรงกับเป้าหมายที่อยู่ในแผนที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งครบรอบกระบวนการ Plan Do Check Act เป็นหนึ่งรอบสำหรับแต่ละปีการศึกษา และมีคู่มือให้ได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างชัดเจน
ต.ย. นักเรียน รร.เตรียมฯ เลือกออกไปทำงานก่อนจบ ม.6
#เล่าสู่กันฟัง 62-127
ภูมิปรินทร์ มะโน เด็กไทยวัย 17 ปี #Softwaredeveloper แบบ #fullstack #communityincubator ผู้บ่มเพาะ สนุกที่พาน้อง ๆ มาปลดล๊อกตัวเอง เชื่อว่าทุกคนเป็น creator/innovator ได้ แนะนำเรื่องการเรียนรู้ผ่าน #projectbase ปัจจุบันทำงานที่ #siliconvellay
จุดเริ่มสำคัญ คือ เข้าค่ายที่ปลูกฝังให้พัฒนาโปรแกรมที่แก้ปัญหาของสังคมได้ ความชอบ คือ การสอนให้เด็ก ม.ปลาย ให้เขามีความรู้ในการพัฒนาโปรดักส์ เคยเป็นเด็กติดเกม พบมีข้อจำกัดต้องจ่ายเพื่อให้ได้ แต่เขียนโปรแกรมจะเสกสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาได้ เริ่มเรียนรู้ด้วยตนเองจาก youtube ก่อน งานแรก คือ ตอนอายุ 15 ปี พบปัญหา จึงหาวิธีแก้ปัญหาที่พบ ช่วยให้ครูนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์มากยิ่งขึ้น Software แรกที่ทำชื่อ Flipped ชอบโมเดลการเรียนรู้คล้ายของ Khan Academy ตัวต่อมาทำแอพ Printed แล้วไปฝึกงานกับโครงการ internship ฝึกกับบริษัท itax ช่วยงานเรื่องภาษี ได้ร่วมจัดงาน Hackathon ด้วย และถูก Refer ไปกับบริษัทที่อเมริกา จึงจัดงาน Stupid hackathon กลับมาไทย ยังทำงานแบบ remote ได้ และมีเวลาทำ camp สร้างคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการเวทีนำเสนอผลงาน และเรียนรู้
เป้าหมายสูงสุด
- พัฒนาแอพพลิเคชั่นแก้ปัญหาของสังคม
- ส่งเสริมน้อง ๆ เพิ่มโอกาสและทักษะ
เวลา 39 นาที ฟังคลิ๊ปสัมภาษณ์เพลิน ๆ
ใช้ - ก่อน- เรียน หรือ เรียน - ก่อน - ใช้ .. เลือกกันได้

คุณภาพ = ความพึงพอใจ
blog
ถูกต้อง กับคำว่า "เริ่มก่อนได้เปรียบ"
แต่ยังมีอีกแนวคิดที่น่าสนใจ
"เรียนก่อน แล้วได้ประยุกต์ใช้ สมใจหมาย แต่ถึงเวลาจะใช้ แล้วค่อยเรียน คงไม่ทัน"

ข่าว .. กอปศ.ทุบโต๊ะเลิกเรียน 8 กลุ่มสาระในเด็ก ป.1-3 - 27 ก.พ.61
ผลวิจัยพบ เรียนมากไม่สบความสำเร็จ ทำเด็กต้องแข่งขัน ชี้เด็กวัยนี้ควรเรียนรู้สมรรถนะการใช้ชีวิต คงแปลได้ว่า เรียนไม่สบความสำเร็จ ก็เลิกเรียน เปลี่ยนเรื่องรู้สมรรถนะการใช้ชีวิต ที่ง่ายกว่า สนุกกว่า
ส่วนสาระทั้ง 8 ที่เคยเห็นว่าจำเป็น มาตั้งแต่ 2551 นั้น จะใช้เมื่อไร (ป.4) ค่อยเรียน ประกอบด้วย 1) ภาษาไทย 2) คณิตศาสตร์ 3) วิทยาศาสตร์ 4) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5) สุขศึกษาและพลศึกษา 6) ศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ 7) การงานอาชีพ และเทคโนโลยี 8) ภาษาต่างประเทศ
ระบบการเรียนในชั้นเรียน
ระบบการเรียนในชั้นเรียน (Learning System in Classroom)
1. เนื้อหาที่สอน (Content)
2. ตัวอย่างในห้องเรียน (Sample)
3. ถามตอบ กิจกรรมในห้อง (Exercise)
4. ฝึกปฏิบัตินอกห้อง เดี่ยว/เป็นกลุ่ม (Practice)
5. เนื้อหาที่ไปค้นคว้าด้วยตนเองจากสื่อ (Research)
6. สิ่งที่คิดที่เขียนใหม่ ค้นคว้าขึ้นมาของแต่ละคน (Present)
7. การวิพากษ์ร่วมกันกับสิ่งที่แต่ละคน/กลุ่มนำเสนอ (Review)
8. สอบ (Examination) เพื่อประเมินการเรียนรู้
และ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
ไปเรียน เพราะมีเป้าหมาย
Certification
1. ไปเรียน จะได้รู้ และถูกรับรองว่ารู้
Objective
2. ไปเรียน มักมีหลายเรื่องต้องรู้ ควรรู้ทุกเรื่อง ตามเป้าหมาย
Level
3. ไปเรียน แล้วสอบ จะได้วัดว่ารู้ถึงระดับไหน
System
4. ไปเรียน ตามระบบ ก็ต้องเดิน เก็บประเด็นให้ครบทุกสถานีฐาน
Practical
5. ไปเรียน เน้นรับหลักการ แล้วไปหาอ่าน และฝึกฝน จนแตกฉาน
Research
6. ไปเรียน ได้รู้ว่ามีเรื่องที่ยังไม่รู้ ก็ไปค้นคว้า ค้นแล้วพบก็เก็บไว้ใช้
Future
7. ไปเรียน ขณะเรียนคือปัจจุบัน ตัวเนื้อหานั้นคืออดีต แล้วปรับใช้ในอนาคต
นึกถึงเพลง อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน
มีคำถาม ในกลุ่มสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย
ว่า "ทำโปรเจคจบไรดี"
จากนั้นก็มีพี่ ๆ เข้าเม้นท์
นึกถึงคำว่า "ปุจฉา วิสัชนา"
หมายถึง การถามและตอบกันไปมา

Case "เซฟ หัวเกรียน"
แชร์ "portของเราเอง"
โดย ภานุวัฒน์ สุขอินต๊ะ มี 47 ภาพ
ก็เป็นกรณีตัวอย่างใกล้ตัว แทนที่จะไปมอง
Steve Jobs หรือ Jack Ma หรือ J.K. Rowling
โตขึ้น
อยากเป็นอะไร

สิ่งที่ความทราบ สำหรับ ผู้ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
ระบบแอดมิดชั่น (Admission) คือ ระบบกลางสำหรับคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันระดับอุดมศึกษา (Central University Admissions System – CUAS ) เป็นระบบผสมผสานการวัดความรู้ของนักเรียนจากหลายส่วนมาร่วมกัน เพื่อรวมเป็นคะแนนที่จะใช้พิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ ดังนั้นระบบนี้จึงไม่ตัดสินคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อจากคะแนนสอบเพียงครั้งเดียว

สทศ. (NIETS) เป็นชื่อย่อของ สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า National Institute of Educational Testing Service (Public Organization) ทำหน้าที่จัดสอบ O-NET, GAT และ PAT เป็นต้น

สอท. (AUPT) เป็นชื่อย่อของ สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Association of University Presidents of Thailand และมีหน้าที่เปิดรับให้บุคคลยื่นคะแนน พร้อมกับชื่อหลักสูตรที่ต้องการศึกษาได้ 4 อันดับ แล้วระบบจะนำคะแนนของแต่ละบุคคลไปจัดเรียงตามหลักสูตร แล้วประกาศผลว่าบุคคลใดสอบเข้าในหลักสูตรใดได้บ้าง ตามข้อจำกันเรื่องจำนวนรับของหลักสูตร และลำดับที่ในการเลือกหลักสูตร มีเว็บไซต์ที่ http://www.niets.or.th/th/

O-NET (Ordinary National Education Test) คือ การทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติขั้นพื้นฐาน จัดสอบโดย สทศ. ปกติจะจัดสอบ 3 ระดับ คือ ป.6 ม.3 และ ม.6 โดยคะแนนที่ได้นำไปใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมการวัดคุณภาพของโรงเรียนเปรียบเทียบกันทั้งประเทศด้วยมาตรฐานเดียวกัน โดยปี 2558 กำหนดสอบทั้งหมด 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ 1) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2) ภาษาไทย 3) คณิตศาสตร์ 4) อังกฤษ 5) วิทยาศาตร์

GAT (General Aptitude Test) คือ การสอบความถนัดทั่วไป เพื่อวัดความพร้อมในการจะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยปี 2559 สอท. ให้ สทศ. จัดสอบให้ครอบคลุมเนื้อหาการทดสอบของนักเรียนทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ จึงมีข้อสอบทั้งหมด 9 วิชาสามัญ คือ 1) วิชาภาษาไทย 2) วิชาคณิตศาสตร์ 1 3) วิชาคณิตศาสตร์ 2 4) วิชาสังคมศึกษา 5) วิชาฟิสิกส์ 6) วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป 7) วิชาภาษาอังกฤษ 8) วิชาเคมี 9) วิชาชีววิทยา (อ้างอิง)

PAT (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ เพื่อวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐานกับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จมี 7 วิชา ดังนี้ PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์ PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี (อ้างอิง)

องค์ประกอบของคะแนน ในระบบแอดมิดชั่นมี 4 ส่วน คือ 1) เกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) 2) คะแนน O-NET 3) คะแนน GAT และ 4) คะแนน PAT สัดส่วนหรือน้ำหนักในการนำคะแนนมาร่วมกัน มีเกณฑ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละหลักสูตร อาจมีสัดส่วน ดังนี้
1. GPAX 20% (6 ภาคการศึกษา)
2. O-NET 30%
3. GAT 20%
4. PAT 30%
เข้าระบบแอดมิดชั่นได้ที่ http://www.aupt.or.th/admissions.php

เกณฑ์ของแต่ละหลักสูตร ว่าสอบอะไรบ้าง สัดส่วนเท่าใด มีตัวอย่าง 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 คณะสัตวแพทยฯ , คณะสหเวชศาสตร์ , คณะพยาบาลศาสตร์
คณะสาธารณสุขฯ, คณะเทคนิคการแพทย์ , คณะวิทยาศาสตร์กีฬา
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20% และ PAT 2 30%
กลุ่มที่ 2 คณะทันตแพทยศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20%, PAT 1 10% และ PAT 2 20%
กลุ่มที่ 3 คณะเภสัชศาสตร์
GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% และ PAT 2 40%
(อ้างอิง)

แนะนำเว็บ (Web guide)
+ ความหมายของ GAT และ PAT โดย สทศ.
+ คำแนะนำระบบ Admission เพื่อเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2559
+ การเลือกเดินรถไฟของภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการศึกษาของนักเรียนคนหนึ่ง
+ ข้อมูลคณะที่มีการแข่งขันสูงสุด 2558 (แต่จำนวนรับไม่เท่ากัน)
+ 100 คณะที่ถูกคำนวณมากที่สุด ผ่านโปรแกรมคำนวณของเว็บไซต์เด็กดี
+ 20 คณะ/สาขาที่มีผู้สมัครมากที่สุด ประจำปีการศึกษา 2558
+ รายชื่อโรงเรียน จาก data.go.th
ผมคาดว่า .. เหตุที่ เกาหลีใต้ เป็นอันดับ 1 ด้านการศึกษา
อาจเป็นเพราะการแยกตัวออกจากเกาหลีเหนือ ทำให้ความเชื่อพื้นฐาน ต่างกันชัดเจน
การศึกษาแบบเกาหลีใต้ - ทุนนิยม เชื่อว่าต้องลงทุนเพื่อให้ได้มา เป็นของเรา
การศึกษาแบบเกาหลีเหนือ - สังคมนิยม เชื่อในความเสมอภาค เป็นของหลวง
ส่วนญี่ปุ่นก็มีประวัติการต่อสู้ และเจ็บปวดกับการพ่ายแพ้สงคราม
ส่วนสิงค์โปร์พื้นที่เล็ก ทุกคนต้องแข่งขัน เหมือนกรุงเทพฯ
นี่ถ้านำเฉพาะกรุงเทพฯ ไปจัดอันดับ ผมว่าน่าจะ top 10 นะครับ
ถ้าฝันเป็นแบบทุนนิยม แล้วทำตัวแบบสังคมนิยม .. คงยากที่จะไปถึงฝัน
- นึกเทียบเรื่องนี้เมื่อ 13 พฤษภาคม 2558 -


เด็กเกาหลีใต้ชีวิตไร้ความสุข .. สำรวจโดยกระทรวงสาธารณสุขเกาหลีใต้ เด็กอายุ 9 - 18 ปี เปรียบเทียบกับเด็กอีก 27 ประเทศที่พัฒนาแล้ว ผลคือรั้งท้าย มีความสุขในชีวิตน้อยที่สุด แต่การศึกษาดีที่สุด คงเพราะกดดันเรื่องการเรียนอย่างมาก
+ http://www.thairath.co.th/content/461615
+ https://www.youtube.com/watch?v=oPa2yMfUgqQ

เนื้อเพลงค่านิยม 12 ประการ
หนึ่งรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
สองซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนได้
สามกตัญญู พ่อแม่ สุดหัวใจ
สี่มุ่งใฝ่ เล่าเรียน เพียรวิชา
ห้ารักษา วัฒนธรรม ประจำชาติ
หกไม่ขาด ศีลธรรม ศาสนา
เจ็ดเรียนรู้ อธิปไตย ของประชา
แปดรักษา วินัย กฎหมายไทย
เก้าปฏิบัติ ตามพระ ราชดำรัส
สิบไม่ขาด พอเพียง เลี้ยงชีพได้
สิบเอ็ดต้อง เข้มแข็ง ทั้งกายใจ
สิบสองไซร้ คิดอะไร ให้ส่วนรวม
/12corevalue/
ทำไม .. เด็กไทย ยอมแพ้เร็ว โดยเฉพาะด้านการศึกษา
ผู้คนมากมายในประเทศบอกว่า การศึกษามีปัญหาสารพัด ผมรู้สึกไปเองว่าปัญหาทั้งหมดมาจากทัศนคติ "ยอมแพ้เร็ว" ของเด็กไทย และไม่มีค่านิยมในการเรียนหนังสืออย่างมุ่งมั่น "ไม่ทุ่มเท เพื่อเอาชนะการเรียน" มีที่มามากมายที่สนับสนุนให้เด็กไทย ยอมแพ้เร็ว และที่มาแต่ละเรื่องนั้น แก้ยากซะด้วย แต่ถ้าทำให้เด็กไทยเกิดค่านิยมข้อ 4 ได้ตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ก็มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าระดับการศึกษาไทยจะได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด
เหตุที่ทำให้เด็กไทย มีค่านิยม ยอมแพ้เร็ว / พอแล้ว / ไม่อยากแข่งขัน
(ในที่นี้ คำว่ายอมแพ้เร็ว คือ หยุดแล้ว เสมอตัวก็พอ ได้เท่าไรก็เท่านั้น)
1. พ่อแม่เคยยอมแพ้เร็ว จึงไม่ศรัทธาในการศึกษา [ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น]
ครูท่านหนึ่งบอกว่า เคยไปตามเด็กมาเรียนหนังสือ แต่คุณแม่เด็ก
ตอบมาว่า อย่าไปยุ่งกับมันเลย ข้าเจ้าเรียนไม่จบ ก็ยังมีบ้าน มีรถได้
อีกหน่อยมันก็เอาตัวรอดของมันได้
เรื่องนี้ฟังจากคุณครูมาอีกต่อหนึ่ง

2. ไม่ใส่ใจผลการจัดอันดับการศึกษา [การศึกษาเป็นเรื่องไม่สำคัญ]
เด็กไม่สนใจเรื่องอันดับ ใครจะที่หนึ่ง ใครจะที่สอง ก็ไม่เกี่ยวกับฉัน
ประเทศรั้งท้ายในโลก รั้งท้ายในอาเซียน
ผลสอบ o-net ต่ำ ประเมินภายในตก ภายนอกก็ตก
คุณภาพเด็กแย่ คุณภาพครูแย่ คุณภาพโรงเรียนแย่
ก็ไม่เห็นจะมีใครเดือดร้อน
นอกจากคุณครูบางท่าน หรือคนมีหน้าที่เฉพาะด้านนี้เท่านั้นที่เห็นว่าสำคัญ
เพราะไม่มีใครรู้สึกเป็นเจ้าของระบบการศึกษาของประเทศไทย

3. โรงเรียนประจำจังหวัดมีโรงเรียนเดียว [ที่นั่งเต็ม หมดสิทธิ์]
เข้าโรงเรียนประจำจังหวัดได้ก็ถือว่าเก่ง คนที่อยากเข้าก็นับได้ว่าไม่ยอมแพ้
แต่มากกว่าครึ่ง ไม่สมัครสอบ ไม่เห็นว่าจำเป็นต้องไปสอบ
มักจะเรียนอยู่ในโรงเรียนรอบนอก หรือโรงเรียนประจำอำเภอ
หลายคนในกลุ่มนี้ถือว่ายอมแพ้เร็ว ทั้งสอบเข้ามัธยมต้น มัธยมปลาย มหาวิทยาลัย
ส่วนเด็กที่สอบเข้าโรงเรียนประจำจังหวัดไม่ได้ ก็ผิดหวัง
และคิดว่าตนเองไร้ความสามารถจนทำให้เกิดความรู้สึกยอมแพ้ตามมา
เหมือนที่ albert einstein ตั้งเกณฑ์เลือกสัตว์ขึ้นต้นไม้

4. มีใครต่อใครพูดกรอกหูว่าเลือกได้ [ได้รับค่านิยมเชิงลบ]
เลือกยอมแพ้กับการเรียนได้ ไม่ต้องเรียนให้จบ ก็ประสบความสำเร็จได้
ไปเป็นประกวดร้องเพลง ไปเป็นนักกีฬาทีมชาติ ไปเป็นนักดนตรี
ไปเป็นดารา ไปค้าขาย ไปทำนา ไปทำอะไรอะไร
ก็มีชีวิตที่ดี ร่ำรวยมีเงินมีทองมากมาย ไม่ต้องเรียนก็ได้
ถ้ายังยัดเยียดค่านิยมแบบนี้เข้าหัวเด็ก ก็เลิกหวังว่าจะพัฒนาการศึกษาเลย
เหมือนมีลูก แล้วก็ด่าลูกทุกวันว่าไม่ฉลาดเท่าเด็กข้างบ้าน แบบนี้เขาห้ามนะ

5. แม่พิมพ์เองก็ชวนเด็กยอมแพ้เร็ว [โรงเรียนเล็ก ครูก็น้อย]
ใครก็ตามที่อยู่ในระบบการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น บ้าน วัด โรงเรียน
อาจเป็นผู้ยัดค่านิยมยอมแพ้เร็วเข้าหัวเด็ก
เพราะไม่รู้ตัวว่าคล้อยตามกระแสภายนอก มีทั้งสื่อ ทั้งระบบการศึกษา ทั้งปัญหา
เมื่อใดที่ระบบไม่สนับสนุนอย่างสุดกำลัง ก็คงไม่ต้องพูดถึงการพัฒนาการศึกษา
เช่น โรงเรียนขนาดเล็กมาก เด็กไม่เกิน 60 คน มีเกือบ 2 พันแห่ง
มีครูเพียง 3 คน เนื่องจากนโยบายครู 1 คนต่อเด็ก 20 คน
แล้วจะให้ครูไปสอนเด็กให้เอาชนะคงยาก เพราะทั้งครู ทั้งระบบการศึกษา
ก็ยอมแพ้มาตั้งแต่ออกสตาร์ทแล้ว

6. ดัชนีการศึกษารายจังหวัด ใช้วัดสถิติการยอมแพ้เร็ว [เศรษฐกิจไม่ดี การศึกษาไม่ดี]
ในตัวชี้วัดหลัก 4 ประการ มีข้อแรกคือ จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ย
หากเด็กไทยเลิกเรียนก่อนถึงการศึกษาขั้นสูงมีจำนวนมาก
ก็แสดงว่าได้คะแนนดัชนีการศึกษาในจังหวัดนั้นต่ำ
ถ้าเห็นชื่อจังหวัดที่เป็นสีเขียว ก็หาโมเดลที่ทำให้เด็กในจังหวัดนั้นไม่ยอมแพ้
หากทำให้จังหวัดอื่นที่เป็นสีแดง ได้ใช้โมเดลเหล่านั้น
ก็คงแก้ปัญหาการศึกษาได้จริง
ซึ่งนักพัฒนาบอกว่าต้องปฏิรูปการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐานทำงาน
+ http://pantip.com/topic/32725659
+ http://apps.qlf.or.th
เห็นใคร ๆ แชร์คลิ๊ปและเรื่องราวปัญหาเกี่ยวกับ ครูเก่า กับครูลูกศิษย์ ในมุมของผมคิดว่าเป็นอารมณ์ชั่ววูบที่เกิดจากอัตตา พออารมร์คลายก็คงคิดว่าไม่น่าทำเลย มนุษย์ทุกคนย่อมมีอัตตาเป็นของตนเอง แล้วครูท่านก็คงลืมนึกไปว่า เดี๋ยวนี้โลกเรามี social media แล้ว อะไรนิดอะไรหน่อย อัพเฟสกันแล้ว เช่น เหนียวไก่หาย หรือ เรื่องนี้ ถึงครูอังคณา แน่ ส่วนจะหวังให้ครูยึดตาม หลักจรรยาบรรณครู 9 ประการ ตลอดเวลานั้น ทางโรงเรียน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็อาจต้องมีมาตรการสนับสนุน ส่งเสริม ผลักดัน เช่น จรรยาบรรณครู ข้อ 2 "ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ" อย่างกรณีนี้ ก็เผลอด่าครูลูกศิษย์ออกไมโครโฟน ไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีด้านวาจา และจิตใจ
แล้วลูกศิษย์ผมก็แบ่งปันว่า ในหนังจีน พอเจ้าสำนักสอนวิชาให้ศิษย์จนหมดแล้ว ก็จะยกสำนัก และของดีให้ศิษย์ได้ดูแลต่อไป เช่น คัมภีร์หยุดกระสุน เป็นการแสดงมุทิตาจิต และสนับสนุนศิษย์อย่างแท้จริง แต่ครูเก่าท่านนี้ก็คงยึดมั่นถือมั่นเกินไป จนลืมที่จะปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทุก ๆ คน ผลคือ ถูกถ่ายคลิ๊ปออกสื่อ และอะไรอะไรอีกมากมายที่จะตามมา
+ http://board.postjung.com/940130.html
+ การตัดสินคนว่า true or false ยกตัวอย่าง ขยะ full moon กับ ขยะวันลอยกระทง
+ เราจะบีบแตรใส่คนที่ยืนยึกยักริมถนนแยกที่ผ่านมามั้ย ..
ปัญหาการศึกษาไทย
1. กฎหมาย "พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒"
หมวด ๖ มาตรฐาน และการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรา ๔๙ "ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา "

- 17 ก.ค.57 ดร.อุทุมพร แจงยุบ 'สมศ.' ไม่ใช่ทางออก จวก 'อธิการฯ-คณบดี' กลัวถูกประเมินต่ำ
http://www.thairath.co.th/content/436887
- 25 ก.ค.57 กลุ่มมหาวิทยาลัย ยื่นหนังสือ คสช.ระงับ สมศ.ประเมินมหา’ลัย
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000084350
- 28 ก.ค.57 ผอ.สมศ."เผย3ปัจจัยหลักฉุดการศึกษาด้อยคุณภาพ ย้ำสมศ.ต้องอยูช่วยตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
http://www.kruwandee.com/news-id10751.html
- 4 ส.ค.57 ชาญณรงค์ โล่งหลังเข้าพบ คสช. ไม่ยุบสมศ. เดินหน้าทำงานประเมิน
http://www.dailynews.co.th/Content/education/257054/
- 9 ส.ค.57 คลิ๊ป คิดยกกำลังสอบ ยุบ สมศ. ดีไหม
http://www.youtube.com/watch?v=lAN9VvJkRSI
- 16 ส.ค.57 ครูหยุย เสนอหยุบ สมศ. จ้างธุรการเพิ่ม ช่วยการศึกษาไทยดีขึ้นรับอาเซียน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1408168749
- 1 ก.ย.57 สมศ.เมินเสียงค้านเดินหน้าใช้ ยอดบริจาคศิษย์เก่า ประเมินคุณภาพตามเดิม
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9570000100164
- 12 ก.ย.57 ผอ.สมศ.กระตุ้นต่อมสำนึกมหาวิทยาลัย ปั้นบัณฑิตคุณภาพหนีบัญชีดำ
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=38458&Key=hotnews

2. นักเรียน นักศึกษา
- 11 ก.พ.56 สลด!! นักเรียน ม.3 ลวงครูฝ่ายปกครองจ้วงแทงสาหัส
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk1EVTJOVFkyTWc9PQ==
- 20 ก.พ.56 คำสารภาพมือคัตเตอร์ บุกจุฬาฯ-ฟันอาจารย์ แค้นไม่ให้แฟนเพื่อนจบ
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERTJNVEl3TURJMU5nPT0=
- 2 ก.ย.56 นักศึกษา ปวช. บุกกระทืบครูคาห้องเรียน เหตุไม่พอใจถูกไล่ออก
http://www.kruthai.info/view.php?article_id=5978
http://www.youtube.com/watch?v=pqqYXU-n2fc

3. ครู อาจารย์
- 10 ก.ย.54 อดีตครูพละข่มขืนเด็กวัย15ปีเครียด ใช้เศษผ้าห่มผูกคอดับคาห้องขัง สภ.เถิน ลำปาง
http://www.chaibadancrime.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539372115
- 22 ม.ค.55 ครูเจ้าเล่ห์หลอกข่มขืนลูกศิษย์สาว แจ้ห่ม ลำปาง
http://www.dailynews.co.th/Content/crime/149894/
- 10 ต.ค.55 คลิ๊ปข่าว นักศึกษาสาวถูกอาจารย์ข่มขืน
http://www.youtube.com/watch?v=LziVh0qVIUc

4. การวัดและประเมินผล
- 6 เม.ย.54 ช็อค เด็กไทยทำลายสถิติโลก สอบตกโอเน็ตยกประเทศ
http://www.dek-d.com/board/view/2115982/
- 13 ก.ค.55 เฉพาะที่ประเมินไป 7,985 โรงเรียน พบไม่รับรองมาตรฐาน 2,295 แห่ง คิดเป็น 28.74%
http://www.thairath.co.th/content/275639
- 13 พ.ค.56 การยุบโรงเรียนขนาดเล็ก นโยบายโง่ๆทางการศึกษา
http://www.manager.co.th/Columnist/ViewNews.aspx?NewsID=9560000057387
- 14 มิ.ย.56 การยุบโรงเรียนขนาดเล็ก
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=33023&Key=hotnews

5. ระบบ /โครงสร้าง
- 29 ก.พ.55 คลิ๊ป การศึกษาไทย ทำไมไร้คุณภาพ ในรายการที่นี่ตอบโจทย์
http://www.youtube.com/watch?v=OF2u8XfGd5s
- 15 ก.ย.57 การศึกษาไทยถดถอย9อันดับรั้งท้าย 'ลาว'
http://www.komchadluek.net/detail/20140915/192135.html
Student Homepage
เป้าหมายของเว็บเพจ นำเสนอผลงานของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เกี่ยวกับการจัดทำเว็บเพจ เป็นงานเชิงพัฒนาของเยาวชนในช่วงชั้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าไปศึกษาแบบเฉพาะทางในมหาวิทยาลัย

ภาพจาก : http://lifewithalacrity.blogs.com
ถ้าคุณครูไม่ชื่นชมผลงานของนักเรียน .. สักวันนักเรียนก็ต้องลืมผลงานของตัวเอง
คุณครูมาช่วยกันเก็บรักษาผลงานของนักเรียน .. ส่งเสริมให้นักเรียนเห็นคุณค่าในผลงานของพวกเขา .. กันดีกว่า
กรณีศึกษาที่ 1
Thaiware .com เว็บของเด็กต่างสถาบัน รวมตัวจาก “แชท”
(โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 เมษายน 2548 10:06 น.)
ข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9480000041775
ผู้ก่อตั้ง thaiware.com คือ ธรรณพ สมประสงค์ และ เอกชัย ก่อตั้งเกียรติกุล
เรื่องของการดาวน์โหลดโปรแกรมหรือซอฟแวร์ต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว คงเป็นช่วงของโลกไซเบอร์กำลังมาแรง ทั้งอินเทอร์เน็ตที่เริ่มเข้าไปมีบทบาทในชีวิตประจำวันของวัยรุ่นหลายต่อหลายคน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการ “แชท” ด้วยโปรแกรมไอซีคิว (ICQ) ที่ผู้ใหญ่ส่วนมากมักจะมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระและเป็นสื่อที่สามารถชักจูงให้เยาวชนไทยรวมตัวกันเพื่อทำเรื่องเสื่อมเสียได้ แต่ใครจะรู้ว่าการแชทก็ทำให้เกิดเป็นธุรกิจที่ปัจจุบันสร้างรายได้ให้วัยรุ่นไทยด้วยเลข 6 หลักต่อเดือนมาแล้ว
จากเด็กต่างสถาบันแต่กลับมารวมตัวกันได้ แถมยังร่วมกันทำธุรกิจเกี่ยวกับการดาวน์โหลดโปรแกรม ที่ ณ ปัจจุบันนี้เว็บ “Thaiware.com” ติดอันดับหนึ่งของโปรแกรมดาวน์โหลดใน “ทรูฮิต” (Truehits.net) ซึ่งก็เกิดจากการรวมตัวของเด็กที่มีใจรักในเรื่องเดียวกันผ่านการ “แชท” นั่นเอง
นายเอกชัย ก่อตั้งเกียรติกุล นักศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายธรรณพ สมประสงค์ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งทั้ง 2 คนเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยแวร์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือผู้ที่ก่อตั้งเว็บไซต์ ไทยแวร์ เล่าถึงธุรกิจดังกล่าวว่า ในช่วงแรกไม่ได้ตั้งใจที่จะทำออกมาให้เป็นธุรกิจเหมือนในปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นเพียงความอยากทำเว็บไซต์ และได้มีโอกาสพบเพื่อนที่มีแนวคิดเดียวกันจากการมองว่า ในช่วงนั้นในเมืองไทยยังไม่มีเว็บที่เกี่ยวกับการดาวน์โหลดโปรแกรม จึงคิดที่จะทำเว็บไซต์เกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมา โดยเริ่มจากความไม่รู้ในการทำเว็บไซต์ แต่อาศัยการเรียนรู้จากหนังสือ และถามจากผู้ที่มีประสบการณ์ หลังจากนั้นก็ใช้เวลาในการทำเว็บ ไทยแวร์ ขึ้นมาประมาณ 3 เดือน โดยเริ่มเปิดตัวออกสู่สายตานักท่องเว็บเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2542 ที่ผ่านมา
“การทำงานของเราเกิดจากใจรักเพียงอย่างเดียว ถึงแม้ในช่วงนั้นจะยังไม่มีรายได้เข้ามาก็ตาม ซึ่งเราก็ไม่ได้หวังในเรื่องนั้น แต่กำลังใจอย่างหนึ่งที่ทำให้เราทำงานนี้ต่อไป คือยอดของคนที่เข้ามาดาวน์โหลดโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นตลอด หลังจากนั้น 2 ปีจึงเริ่มมีโฆษณามาลงทำให้มีรายได้เข้ามา โดยได้ใช้เงินตรงส่วนนั้นเป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัทฯ พร้อมทั้งจัดสรรเพื่อใช้เป็นเงินทุนสำรองฉุกเฉินด้วย ซึ่งตรงนั้นก็ได้นำมาซื้อเซิร์ฟเวอร์ตัวใหม่ หลังจากที่มียอดผู้เข้าเว็บไซต์มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเว็บเรามีคนเข้าชมประมาณ 21,000 คน/วัน และเพจวิว (Page View) ประมาณ 300,000 ครั้ง”
ณ ปัจจุบัน เว็บไซต์ ไทยแวร์ นอกจากจะมีรายได้จากการลงโฆษณาแล้ว รายได้หลักอีกอย่างหนึ่งคือการขายซอฟแวร์ และทำเว็บไซต์ให้กับบริษัทต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีทีมงานทั้งหมด 7 คน ที่แบ่งเป็นโปรแกรมเมอร์, ผู้ดูแลด้านเนื้อหา และคนทำกราฟิก
เว็บไซต์นี้ไม่กระทบการเรียน
เมื่อมีงานทำกันตั้งแต่ยังเรียนอยู่ระดับมัธยมปลาย จนถึงระดับอุดมศึกษา เรื่องของการแบ่งเวลางานและเวลาเรียน ถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่กับธุรกิจนี้ทีมงานทุกคนต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่กระทบการเรียนอย่างแน่นอน เพราะใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่ออัพเดทโปรแกรมประมาณ 1-2 ตัว ซึ่งก็เหมือนกับบางคนที่มักจะใช้เวลาหลังเลิกเรียนไปเตะฟุตบอล ซึ่งทีมงานนี้ก็มีกิจกรรมเช่นนั้น แต่ก็ถือว่าไม่บ่อยนัก เพราะยังมีภาระเรื่องงานทำเว็บไซต์อยู่ ส่วนเรื่องการไม่ลงรอยกันของนักศึกษาต่างสถาบันนี้ ถือว่าก็มีปัญหากันบ้างแต่เป็นเรื่องที่เล็กน้อย ซึ่งจะใช้วีธีการแก้ปัญหาด้วยการพูดคุยกัน เพราะทุกฝ่ายเชื่อว่าการเริ่มต้นธุรกิจด้วยใจรัก ไม่ใช่ด้วยผลประโยชน์จะทำให้ปัญหาผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
ตั้งเป้าเป็น one stop service เรื่องไอที
สำหรับโครงการต่อไปของ ไทยแวร์ จะทำให้เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับไอทีไว้อย่างครบถ้วน หรือเรียกได้ว่าหากผู้ที่เข้ามาในเว็บไซต์นี้จะสามารถอัพเดทตัวเองเรื่องไอทีได้อย่างครบวงจรหรือเป็น One Stop Service ซึ่งที่ผ่านมาทาง ไทยแวร์ จะเน้นในเรื่องของซอฟแวร์ แต่ต่อไปจะเริ่มบุกในเรื่องของฮาร์ดแวร์ด้วย รวมถึงการเปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ในรูปแบบของเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ที่เป็นโครงการของต่อไปของทีมงานไทยแวร์ โดยการทำเว็บไซต์ที่ฉีกแนวเดิมอย่างชิ้นเชิงคือ www.nongple.com ที่คาดว่าจะสามารถเปิดตัวได้ประมาณกลางเดือนเมษายนนี้ ซึ่งแนวคิดในการหันมาทำเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับวงการบันเทิงบ้าง เพราะเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทุกคนสนใจ สังเกตได้จากการหยิบหนังสือพิมพ์หัวสีของแต่ละคนที่มักจะเริ่มการอ่านข่าวบันเทิงก่อนเป็นอันดับแรก แต่การทำเว็บนี้ขึ้นมานั้นจะเป็นการสร้างความแตกต่างจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับบันเทิงที่มีอยู่ในปัจจุบัน
เว็บไซต์บันเทิงของทีมงานไอทีจะออกมาในรูปแบบใดนั้นคงต้องรอชมกัน แต่ทีมงานนี้ถือคติที่ว่า “หากคิดจะทำอะไรนั้นต้องให้แตกต่าง และอย่าเลียนแบบใคร หรือถ้าจะทำเหมือนเขาต้องทำให้เท่าและต้องมีให้มากกว่า”
กรณีศึกษาที่ 2
วิธีหาเงินของนักศึกษา อีกวิธีหนึ่ง ที่แปลก เหมาะสำหรับการเป็นกรณีศึกษามาก

รับ e-mail 2550-01-25 จึงนำมา post ไว้ที่นี่
คือ ตอนนี้ผมได้ทำเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างเรียนน่ะครับ (ผมเรียนวิศวฯ ที่ม.เอกชนแห่งหนึ่ง)
ซึ่งตอนนี้ทางบ้านกำลังประสบปัญหาทางด้านการเงิน
ทำให้ผมไม่อยากรบกวนเรื่องเงินกับทางบ้านมากนัก จึงได้จัดทำเว็บไซต์ http://ฟรีเว็บโฮสติ้งแห่งหนึ่ง ขึ้นมา
เพื่อรับบริจาคเงินจากท่านที่เมตตาและมีความกรุณาให้กับผมน่ะครับ และอีกอย่าง ถ้าเว็บนี้มีผู้ลง Banner ครบเมื่อไหร่
ผมก็จะนำเงินส่วนหนึ่งไปบริจาคให้กับมูลนิธิต่างๆด้วยเช่นกัน (ที่ผมดูๆไว้ก็เป็นมูลนิธิที่ช่วยเหลือเกี่ยวกับเด็กด้อยโอกาสน่ะครับ)

สำหรับเงินสนับสนุนนั้นเพียงแค่ 200บาท/ปี ต่อการลง Banner ขนาด 88x31 1ช่อง
(คนนึงจะลงกี่ช่องก็ได้ พร้อมเลือกหมายเลขช่องที่จะลงได้)
เฉลี่ยแล้วตกเดือนนึงแค่10กว่าบาทเท่านั้นเองนะครับ ไม่มากมายอะไร
แต่มันสามารถช่วยเหลือผมได้พอสมควรเลยเหมือนกันครับ

ช่วยพิจารณาด้วยนะครับ
ท่านใดจะสนันสนุนเป็น Hosting กับ Domain ก็ได้นะครับ เพราะใช้ของฟรีอยู่ มันไม่ค่อยจะเสถียร
จากภาพ "สอนกูจังว่า โตไปไม่โกง กูเห็นแม่ง แก่จะลงโลง ยังแดก ยังโกง กันบรรลัย"
ถ้ามีตรรกว่า "ยิ่งอายุมาก ยิ่งโกงมาก"
แล้วจะยอมรับสมมติฐานได้ไหม
ถ้ายอมรับแสดงว่าปฏิเสธ H0 ยอมรับ H1 เพราะอายุมีความสัมพันธ์กับการโกงเป็นแบบแปรผัน
แต่เคยมีข้อมูลว่า "หมู่บ้านหนึ่ง ยิ่งลดควายไถนา ผลผลิตข่าวก็ยิ่งสูงขึ้น"
ถ้าอีกหมู่บ้านนำผลการศึกษาไปใช้ แล้วลดควายลง .. เชื่อว่าผลผลิตข้าวจะสูงตาม
.. จริงหรือ .. ก่อนเชื่ออะไรต้องคิดตามก่อนนะครับ
+ กรณีศึกษา ม.เกษตร มีการชี้แจงว่าห้องเล็ก จึงมีมาตรการเพื่อคุณภาพ
จากภาพ "ทำให้นึกถึงการให้เหตุผลแบบนิรนัย"
เหตุผลที่ 1 - การศึกษาที่ผ่านมา เป็น การเรียนซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิม ๆ ที่สร้างความสำเร็จในอดีต
เหตุผลที่ 2 - การวัดความจำ เรื่องเดิมในอดีต เป็น วิธีการสอนแบบโบราณ ไม่ใช่วิธีพัฒนาคนในปัจจุบัน
ดังนั้นสรุปได้ว่า - การศึกษาที่ผ่านมา เป็น วิธีการสอนแบบโบราณ ไม่ใช่วิธีพัฒนาคนในปัจจุบัน
คำถาม .. ท่านมีความเห็นต่อการให้เหตุผลข้างต้นอย่างไร
บทความเรื่อง "วิกฤติบุคลากรไอซีทีไทย สุดท้าย Digital Economy คงไปไม่ถึงไหน"
เขียนโดย ธนชาติ นุ่มนนท์ IMC Institute
ข้อมูล 17 มิ.ย.2559
ข้อมูลการรับสมัครใน 8 สาขาที่เกี่ยวข้อง
2553 - 37,367 คน
2554 - 37,173 คน
2555 - 35,911 คน
2556 - 32,677 คน
2557 - 30,247 คน

ข้อมูลการผลิตบัณฑิตใน 8 สาขาที่เกี่ยวข้อง
2553 - 22,130 คน
2554 - 21,787 คน
2555 - 22,630 คน
2556 - 21,795 คน
อ่านเพิ่มเติม
1
หนีข้อสอบความดีไทย ไปอ่าน 8 คำถามวิชาปรัชญาของฝรั่งเศส
บทความจาก thematter.co
เล่าถึงความยาก ในการออกข้อสอบวัดความดี ที่ สทส. พยายามจะสร้างข้อสอบที่ใช้วัดความดีออกมาให้ได้ พูดถึงการมี วิชาจริยศาสตร์ (Ethics) ว่าเป็นวิชาที่ว่าด้วย "การขบคิดและถกเถียงว่า ไอ้ความดี ความงาม ที่เรายึดถือเชื่อถืออาจจะไม่ใช่สัจจะหรือเที่ยงแท้ก็ได้" ซึ่งผมก็มีโอกาสนำไปพูดคุยกับนักศึกษาในเชิงชวนขบคิดเหมือนกัน เคยดูหนัง กวนมึนโฮ นางเอกถามพระเอกว่า "คิดว่าถ่อย แล้วเท่เหรอ" ก็เป็นอีกเรื่องที่น่าชวนคิดนะ
แล้ว VANAT PUTNARK ก็ชวนไปดูข้อสอบวัดนักเรียน ม.ปลาย ที่ฝรั่งเศส ดินแดนแห่งนักปรัชญาคลาสสิก ที่ทุกคนต้องสอบ ไม่ว่าจะแผนไหน ที่ต้องเลือกตอบ 1 ข้อในเวลา 4 ชั่วโมง และชวนขบคิด ข้อสอบวิชาปรัชญา 8 คำถาม ประจำปี 2017 เป็นข้อสอบที่กลับไปตั้งคำถามกับมาตราฐานบางอย่างของสังคม ว่านักเรียนคิดอย่างไร .. เพราะจากคำถามเล็ก ๆ ที่ถามเด็ก ๆ อาจนำไปสู่ความเข้าใจใหญ่ ๆ ได้
8 คำถามสั้น ๆ เลือกตอบ
แต่ให้เวลา 4 ชั่วโมง จาก afhongkong.org

1. การที่เราปกป้องสิทธิของเรา เป็นการปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองไหม?
(To defend one’s right is to defend one’s own interests?)
.. ถามถึงการให้ความหมายของสิทธิ กับ ผลประโยชน์
2. เราสามารถที่จะเป็นอิสระจากวัฒนธรรมของเราได้ไหม?
(Can one free themselves from their own culture?)
.. นอกจากต้องเข้าใจเรื่องวัฒนธรรม ยังต้องเข้าใจอิทธิพลของวัฒนธรรม
3. เหตุผลอธิบายทุกอย่างได้หรือไม่?
(Can reason make sense of everything?)
.. อีกหนึ่งคำถามระดับอภิปรัชญา ตัวอย่างคืออารมณ์และความรู้สึก เป็นดินแดนที่เหตุผลเข้าไม่ถึง
.. ถึงมีเรื่องของ 3 วินาที ไงครับ
4. งานศิลปะจำเป็นต้องงามไหม?
(Does a work of art necessarily possess beauty?)
.. ต้องนิยามได้ว่า ศิลปะ ความงาม ความเพลิดเพลิน เวลาและวัฒนธรรมเกี่ยวข้องไหม
5. เราจะ ‘รู้’ สิ่งต่างๆ ได้ด้วยการสังเกตการณ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้นไหม?
(Can knowing result merely from observing?)
.. นอกจากประสบการณ์นิยม ผ่านประสาทสัมผัส ยังมีสิ่งที่ไม่อาจสังเกต เช่น ฟิสิกส์ทฤษฏี หรือนามธรรม
6. สิทธิทุกอย่างที่เรามี มีความชอบธรรมหรือไม่?
(Is everything I have the right to do fair?)
.. ถ้าสิทธิคือสิ่งที่กฎหมายรับรอง แต่สิทธิอาจไม่เป็นธรรม (fair) รึเปล่า
7. มีการใช้เหตุผลไปในทางที่ผิดบ้างไหม?
(Is there such a thing as misuse of reason?)
.. ท้าทายการใช้เหตุผล ตัวอย่างการล่าอาณานิคม ความทันสมัยเป็นเหตุผลที่คนขาวใช้อ้างเข้ายึดครอง นึกถึง avatar
8. ความสุขเป็นสิ่งที่ต้องแสวงหาหรือไม่?
(Must one pursue happiness in order to find it?)
.. คำถามที่คัดง้างระหว่างปรัชญาแบบตะวันตกและตะวันออก ต้องแสวงหาถึงได้มา หรือความสุขอยู่ที่ใจ ไม่ต้องไปไหน

งานเขียนอีกเรื่องของ VANAT PUTNARK : อำลา Ursula K. Le Guin นักเขียนแฟนตาซีฯ
2
ตอบคำถาม ว่าวิชาไหน เรียนอย่าง สอบอย่างบ้าง
ตอนเรียน
เค้าว่า สำคัญนะ แต่ก็น่าเบื่อ
.. อ่านจาก manager
วันหนึ่งในฤดูหนาว ปี 2017 มี นักเรียน ถามว่า ในห้องเรียน เรียนเรื่อง snakesnakefishfish แต่ทำไมตอนสอบ สอบเรื่อง dogdogcatcat อยากให้เรียนอะไร ก็สอบอันนั้น อาทิ เรียน 1+1 ก็สอบ 1+1 ถึงจะ o สมัยนี้ต้องยึดนร. เป็น 0 กลาง
วิชามีหลากหลายรูปแบบ .. มาดูแต่ละแบบกัน ว่า การเรียน การสอบ เป็นแนวไหน
1. คณิต .. เรียนราก เรียนพาย สอบราก สอบพาย เพิ่มเลข เปลี่ยนตำแหน่ง นิดหน่อย
2. อังกฤษ .. เรียนบทความ cat สอบบทความ dog เฉยเลย บางทีเรียนละครเวที สอบ grammar listen vocab
3. ประวัติศาสตร์ .. เรียนเสียกรุง สอบเสียกรุง
4. ว่ายน้ำ (theory?) .. เรียนผ่านการปฏิบัติ สอบปฏิบัติ ผลสอบขึ้นกับพรสวรรค์ และการฝึกซ้อม
5. ช่างสิบหมู่ .. ให้เลือกทำ 1 หมู่ (expert) สอนจริงจัง 4 หมู่ สอบย่อย 6 หมู่ เล่าให้ฟัง 10 หมู่ ออกข้อสอบ 10 หมู่
6. เขียนโปรแกรม .. เรียนพิมพ์ 1 ถึง 10 ฝึกพิมพ์ 1 ถึง 100 สอบพิมพ์ 10 ถึง 20
7. โครงงาน .. เรียน พูดคุยให้คำปรึกษา แต่ให้ไปคิดงานเอง ทำเอง สอบ เอางานที่ทำ มาเล่าให้ฟัง
4 กรณีตัวอย่างชวนคิดเรื่อง ปลากับลิง :
กรณี 1 : ปลาไม่อยากปีนต้นไม้ ก็ไปว่ายน้ำแทน เพราะถนัดว่ายน้ำมากกว่า
กรณี 2 : ปลาไม่อยากปีนต้นไม้ ก็ไม่ต้องปีน ปล่อยลิงทำที่ถนัดไป
กรณี 3 : ปลาไม่อยากปีนต้นไม้ ก็ไม่ต้องสนใจระบบ ว่าเค้าจะสอนลิงยังไง
กรณี 4 : เรื่อง ปลา กับ ลิง ปีนต้นไม้ เป็นการให้เหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผล น่าจะเป็นกรณีศึกษาเรื่องของการให้เหตุผล ในแบบ นิรนัย อุปนัย หรือ การเลียนแบบความคิด
3
สัดส่วน เด็กไทยเรียนพิเศษ 14% สิงค์โปร์ 90%
อ่านบทความใน mthai.com หรือ marketeer.co.th พบภาพ "สัดส่วนการเรียนพิเศษ ของนักเรียนมัธยมแต่ละประเทศ" ในบทความเค้าบอกว่า กวดวิชาไทยยังเด็กมาก หรือ กวดวิชาเด็กไทยชิดซ้าย ทำให้รู้สึกว่า 1) เด็กประเทศอื่นเรียนหนักไปรึเปล่า น่าจะลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 2) เด็กเราสอบเยอะไปจะเครียด ลดการสอบลง ลดความเหลื่อมล้ำ 3) เด็กเราอยากเรียนอะไรก็ให้เรียน ประดิษฐ์ คหกรรม ดนตรี กีฬา 4) เด็กเราควรเรียนในเรื่องที่เค้าชอบ ปรับเป็นห้องเรียนกลับทางดีไหม 5) เด็กเราควรได้เรียนอย่างมีความสุข น่าจะสอนแบบสร้างสรรค์ .. เด็กประเทศอื่นเค้าคงเรียนกวดวิชา หรือเรียน(เป็น)พิเศษ เพราะมีเป้าหมายที่ต้องทำให้สำเร็จ แต่วัยเด็กเค้าจะเหนื่อย หลังเรียนจบก็จะไม่เหนื่อย [Movie : Paper towns]
4
อัตลักษณ์ (ID) นักเรียน คือ ได้งานทำ และเรียนต่อ 100%

Anime เรื่อง ชั้นเรียนของผู้ลากมากดี
(ห้องเรียนหัวกะทิ หรือ Classroom of the elite หรือ Youkoso Jitsuryoku Shijou Shugi no Kyoushitsu e)
มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับ กลุ่มนักเรียนในโรงเรียนมัธยมปลาย ที่ดำเนินงานโดยรัฐบาล นักเรียนจะได้ทุนเรียนฟรี มีเงินรายเดือนแบบ กยศ. เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ จนมีอัตลักษณ์ในตัวนักเรียน (Identification) คือ จบที่นี่ถูกจ้างงาน และเรียนต่อได้ 100% เป็น Anime television series เมื่อ July 12, 2017 – September 27, 2017 [wiki]

โรงเรียนนี้ดีจริง เพราะมีกฏ ระเบียบ และเงื่อนไขเยอะ ที่จะทำให้นักเรียนมีคุณภาพ มีอัตลักษณ์สมเป็นนักเรียนของโรงเรียนนี้ หากไม่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไข ก็จะถูกไล่ออก ต.ย. คนเล่นบาสเก่งขั้นเทพ ถ้าไม่ตั้งใจเรียน ปล่อยเกียร์ว่าง สอบตกปุ๊ปก็โดนไล่ออกเลย แล้วไปหาโรงเรียนใหม่ที่ให้เครดิตกับนักเรียนที่เก่งบาส เพราะกีฬาไม่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ของนักเรียน หรือเอกลักษณ์ของโรงเรียนนี้

Hight Light of Classroom
1. อัตลักษณ์ในนักเรียน
2. point ของห้อง
3. point ส่วนตัว
4. สอบตก = คัดออก
5. Tutor เกาะกลุ่มเตรียมตัว
6. ไม่ใส่เกียร์ว่าง = ชนะ
7. เข้าค่ายสิ้นปี ชิงแต้มกลุ่ม
8. 50:50 ไม่ด้อย ไม่เด่น
9. one for all for one
5
ห้องเรียนแห่งอนาคต
เคยอ่านหนังสือ "ห้องเรียนแห่งอนาคต เปลี่ยนครูให้เป็นโค้ช" แล้วผมก็อยากใช้คำว่า "เพียงเท่านี้ การศึกษาไทยก็รอดแล้ว" เพราะรู้สึกว่า ห้องเรียนในปัจจุบันมีปัญหามากมาย ถ้าเปลี่ยนห้องเรียน เป็นห้องเรียนแห่งอนาคต แบบที่พบในเว็บไซต์ Future classroom การเปลี่ยนการเรียนการสอนใน ห้องเรียนแบบเก่า เป็นห้องเรียนแบบใหม่ คือ สอนแบบสร้างสรรค์ แบบที่ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เล่าถึงแนวทางทั้งในหนังสือ และในเว็บไซต์ ก็น่าจะทำให้ภาพการศึกษาของประเทศไทยเปลี่ยนแปลง ก้าวข้ามปัญหาทางการศึกษาไปได้อย่างชัดเจน ซึ่งแผนภาพ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ก็พบว่าเป็นหนึ่งในคำแนะนำใน หนังสือห้องเรียนแห่งอนาคต
6
นักศึกษาแห่เก็บแฟ้มเป็น portfolio
ในอดีต .. นักเรียนคงนึกภาพเก็บข้อมูลเข้า cloud ไม่ออก
เพราะการเรียนหนังสือในอดีตนั้น โลกยังไม่กว้างเท่าปัจจุบัน
ยังไม่มีการเรียนแบบ anytime anywhere any device
ปัจจุบันเทคนิคการสอน สื่อเทคโนโลยี แหล่งค้นคว้าพัฒนาขึ้น
สื่อที่เข้ามาเป็นเครื่องมือสนับสนุนการสอนมีมากขึ้น
มีแนวคิดการจัดการความรู้ผ่านเครือข่ายสังคมอุบัติขึ้นมา
(Knowledge Management with Social Media)
เริ่มปลุกกระแสนักเรียน นักศึกษา ให้แห่กันเก็บแฟ้มเป็น portfolio
ที่ได้จัดทำส่งอาจารย์ ค้นคว้าระหว่างเรียน หรือทำกิจกรรมเป็นระบบ
เก็บไว้ตาม cloud storage หรือ online storage หรือ social media
อาทิ 4shared, google drive, dropbox, onedrive
หรือเก็บไว้ในเครื่องคอมฯ แฮนดี้ไดร์ฟ เว็บไซต์ หรือ external harddisk
นอกจากจัดเก็บเพื่อ backup แล้ว
ยังแชร์ให้เพื่อนอ่าน เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learning Exchange)
บางท่านยังแชร์เรื่องราวที่ได้เรียนรู้ เก็บไว้ในสื่ออินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายสังคม
อาทิ ปรีชา พชระกุล เขียนใน https://www.l3nr.org
ที่เรียกได้ว่าเป็น "เกมส์กลับหัว เพื่อห้องเรียนกลับทาง"
หรือ blog ของ ธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย ที่ oknation.net
เพราะการอ่านคนเดียว รู้คนเดียว ไม่มีประสิทธิภาพเท่า
เขียนคนเดียว อ่านทั้งโลก เอาไปเล่าให้เพื่อนฟัง ร่วมกันคิด ชวนกันแลกเปลี่ยน

คำถาม ถ้าท่านเป็นนักเรียนนักศึกษา
ท่านมี folder คล้าย ๆ ตัวอย่างนี้ รึยัง
7
กรณีศึกษา .. ข้อสอบไม่ตอบอาชีพที่เขาหวัง
นักเรียน .. "ขอทำนาแทนทำข้อสอบ" ผู้อ่านหลายท่านอาจรู้สึกแปลกใจ
แต่ถ้าผู้อ่านท่านใดได้ดูภาพยนตร์เรื่อง "คิดถึงวิทยา"
ก็คงจะรู้ว่าไม่ใช่นักเรียนทุกคนที่อยากเป็น แพทย์ เภสัช ทันตะ วิศวะ
เด็กบางคนมีปู่ มีพ่อทำประมงในเขื่อนมาทั้งชีวิต ก็มีฝันจะทำประมงกับครอบครัวไปทั้งชีวิตเช่นกัน เด็ก(ที่บอกว่าทำนาแทน)คนนี้ก็ไม่ได้เห็นประโยชน์อะไรของการแก้สมการ ไม่เขียนแม้แต่บรรทัดแรกที่แสดงความพยายามแก้สมการ ก็คงเพราะเขาคิดว่าจะทำนาซึ่งคาดว่าเป็นอาชีพที่เขาคุ้นเคย มีคนไทยไม่น้อยประสบความสำเร็จจากอาชีพทำนา .. เรียกว่า วัตถุประสงค์ไม่ตรงกัน หรือมีการเลี้ยงดูทางการศึกษาแตกต่างกัน

+ ไปอ่านเม้นท์ที่ผู้คนเค้าแลกเปลี่ยนกันเรื่องนี้ได้ครับ
+ ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาเงินล้าน และลูกลุงจบปริญญาทุกคน เกียรตินิยมด้วย
8
กรณีศึกษา .. ผู้ที่เลือกใช้ชีวิตตามที่ชอบ พูดให้ฟัง
นายจ้างบางคนบอกว่าเลือกบัณฑิตจากสถาบันที่มีคุณภาพ
เคยฟัง .. นักการศึกษา นักปฏิบัติ นักคิด นักพูด เล่าว่า
สถาบันไม่สำคัญ หลักสูตรไม่สำคัญ ปริญญาไม่สำคัญ
จะเลือกเรียนที่ชอบ อย่ายึดติดกับใคร อย่าฟังใคร เชื่อตัวเอง
http://www.dek-d.com/board/view/3664541/
ลองฟัง .. อีกเสียงหนึ่งที่น่าเชื่อ น่าฟัง คือ "ผู้ประกอบการหรือผู้จ้างงาน"
เค้าไปถามนายจ้างว่ามหาวิทยาลัยไหนผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด
นี่ไปถามมาทั่วโลกเลย พบว่า มหาวิทยาลัยไทยติดอันดับ 15 แห่ง
http://www.tedxchiangmai.com/th_event2016.php
ชีวิตนอกระบบ
.. แต่ถ้ารักงานอิสระ นอกระบบ เป็นนายตนเอง ไม่อยากมีเจ้านาย
บางทีปริญญาก็ไม่สำคัญเหมือนกัน ลองฟัง โจน จันใด ศูนย์พันพรรณ
ลองฟัง Life is easy. Why do we make it so hard? by Jon Jandai
9
ปัญหาด้านบุคลากรไอที ปัญหาด้านบุคลากรไอที เรียบเรียงจาก ธนชาติ นุ่มนนท์
- คนด้านไอทีที่มีคุณภาพมีจำกัด
- คนรุ่นใหม่ด้านไอทีนิยมประกอบอาชีพอิสระ (Startup) หรือเปลี่ยนสายอาชีพ
- นักศึกษารุ่นใหม่ไม่นิยมเรียนด้าน Computer Science หรือ Computer Engineer (เน้นพยาบาล)
- สถาบันการศึกษาบางแห่งเน้นปริมาณ มากกว่าคุณภาพ
10
การเรียนรู้ตลอดชีวิต
กรณีศึกษา "การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning)"
นิยามศัพท์จากแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จากข่าวพบว่า ชายอายุ 46 ปี จบ ม.3 แต่หัดใช้ Photoshop จากเด็กนักเรียน จนสามารถ Retouch ภาพเอกสารของทางการได้ แต่ปัญหา คือ ไปปลอมคำสั่งศาล แล้วส่งให้ประกันชีวิต ประกันชีวิตเกิดสงสัยขึ้นมา จึงส่งให้ศาลตรวจ พบว่าปลอม สรุปว่าการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดที่อายุ น้องนักเรียนใช้ Photoshop ถึงขั้นสอนคนอื่นได้ ถือว่าไม่ธรรมดาเลย
11
นิสิตมีปัญหา ก็ต้องช่วยกัน ผ่าน Chat : OPD

# # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # #
ย็นวันหนึ่ง ถึงเที่ยงอีกวันหนึ่ง .. ได้มีโอกาสพูดคุยกับนิสิต เรื่องพบปัญหา (Problem) และวิธีแก้ไข (Solution) แบบ Screen ต่อ Screen หรือ Line ต่อ Line เป็นปัญหาเกี่ยวกับ PHP Programming เค้าก็ส่งจอภาพให้ดู แก้กันไปทีละบรรทัด เป็นข้อความที่คุยผ่าน Chat แต่ผมขออนุญาตเค้าแล้ว ที่จะเอาบทสนทนาชุดนี้ ไปเล่าให้รุ่นน้องฟัง เพราะเป็นตัวอย่างเรื่อง ความพยายามในการแก้ปัญหา เรื่องนี้เริ่มต้นจากการมองเห็นปัญหา และต้องการแก้ไข โดยมีเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง เมื่อแก้ไขปัญหาเองไม่ได้ ก็ต้องหาคนช่วยเหลือ เค้าเห็นว่าผมพอจะช่วยได้ นั่นจึงทำให้เราได้พูดคุยกันผ่าน chat
ทเรียนนี้ : OPD (Objective, Problem, Do) พบว่า นิสิตคนนี้ "มองเห็นปัญหา และต้องการแก้ไข" เมื่อเค้าถามมา แล้วผมยิงคำถามกลับไป ได้คำตอบที่ผมต้องการ คือ ประเด็นปัญหาที่ชัดเจน เค้ามีความอดทน มุ่งมั่น (Endeavor) ที่จะแก้ปัญหาไปพร้อมกับผม เราร่วมกันแก้ปัญหาจนสำเร็จลุล่วง เพราะ นิสิตมีเป้าหมายที่อยากไปให้ถึง (Objective) รู้ปัญหา (Problem) และลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง (Do)
ปล. ขอให้ข้อมูลว่า นิสิตที่ผมพูดด้วย เป็นชายห้าว ไม่ใช่ลูกท่านหลานเธอ ภาษาที่ใช้ก็จะไม่สระสรวยเหมือนคนในเวียง ต้องค่อยขัดเกลากันไป ส่วนภาพเซตนี้ capture จาก smartphone ส่งเข้า google drive แล้ว download มาเป็น .zip ขนาดภาพละ 200 KB สรุปว่าภาพชัด ขนาดใหญ่ เพราะไม่ได้ resize
12
คอมพิวเตอร์ - เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปี 2565
กณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 แบ่งได้ 18 หมวดหมู่ คือ 1) ภาษาไทย 2) คณิตศาสตร์ 3) วิทยาศาสตร์ 4) นักบินน้อย สพฐ. 5) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6) สุขศึกษา และพลศึกษา 7) ศิลปะ-ทัศนศิลป์ 8) ศิลปะ-ดนตรี 9) ศิลปะ-นาฏศิลป์ 10) ภาษาต่างประเทศ 11) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 12) คอมพิวเตอร์ 13) หุ่นยนต์ 14) การงานอาชีพ 15) ปฐมวัย 16) การศึกษาพิเศษ (โรงเรียนเรียนรวม) 17) การศึกษาพิเศษ (เฉพาะความพิการ) 18) การศึกษาพิเศษ (ศูนย์การศึกษาพิเศษ)
มื่อเปิดแฟ้ม เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สรุปกิจกรรมการแข่งขันกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) พบว่า มี 13 กิจกรรม แบ่งได้ 26 รายการ ซึ่งมีรายละเอียด 51 หน้า พบหน้า 49 - 51 มีตัวอย่างรายชื่อโปรแกรมที่พบในการจัดประกวดและแข่งขันทักษะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เนื่องในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ทั้ง 13 รายกิจกรรม คือ 1. การแข่งขันการสร้างการ์ตูนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก 2. การแข่งขันการสร้างการ์ตูนเรื่องสั้น (Comic Strip) 3. การแข่งขันการสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น (3D Animation) 4. การแข่งขันการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 5. การแข่งขันการสร้างเกมสร้างสรรค์จากคอมพิวเตอร์ 6. การแข่งขัน Motion Infographic 7. การแข่งขันการใช้โปรแกรมนำเสนอ (Presentation) 8. การแข่งขันการสร้าง Webpage ประเภท Text Editor 9. การแข่งขันการสร้าง Webpage ประเภท Web Editor 10. การแข่งขันการสร้าง Web Applications 11. การแข่งขันการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ 12. การประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทซอฟต์แวร์ 13. การแข่งขันการตัดต่อภาพยนตร์
เกณฑ์การแข่งขันฯ คอมพิวเตอร์ 2565 มี 51 หน้า
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน - sillapa.net
ระบบสารสนเทศงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ปี 2566 ลำปาง
13
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ที่ จังหวัดลำปาง
มีหลายจังหวัด มีหลายโรงเรียน มีหลายเขตพื้นที่การศึกษา ยิ่งส่งโครงการมาก ยิ่งต้องใช้เวลามาก ยิ่งต้องใช้ทรัพยากรมาก ยิ่งต้องเรียนรู้นอกห้องเรียนมาก บางโรงเรียนไม่ทำโครงการ หรือทำแต่น้อย ทำให้มีเวลาในห้องเรียนมากกว่า ปัจจุบัน คุณครูเลือกห้องเรียนให้นักเรียนได้ ว่าอยู่ที่ไหน มองอะไรอยู่ ก้าวไปอย่างไร หรือทำโครงการเพื่อใคร
พราะ ชีวิตคือการแข่งขัน ถ้าคุณครูพานักเรียนไปสู่สนามแข่งขัน แล้วชนะบาย (Win bye) ได้ นั่นอาจเป็นเพราะ ทีมคู่แข่งไม่มาร่วมการแข่งขัน ผู้ไปเข้าแข่งขันย่อมรู้สึกถึงความสำเร็จจากการต่อสู้ที่ไม่มีคู่แข่งเลย ซึ่งมีได้ 2 ความรู้สึก คือ โล่งใจเหมือนยกภูเขาออกจากอก กับ เสียดายที่ไม่ได้แสดงฝีมือที่ฝึกปรือมาอย่างหนัก แต่ถ้ามีคู่แข่งขันมาขึ้นเวทีเพื่อต่อสู้กัน จะได้รับรู้ถึงความท้าทาย ว่าผลงานของเราจะไปอยู่ระดับเหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง หรือไม่ได้เหรียญกลับบ้าน จึงเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ว่า ชีวิตย่อมมีแพ้ มีชนะ มีอภัย ซึ่งโรงเรียนในแต่ละเขต คุณครู หรือเพื่อนนักเรียนจากโรงเรียนอื่น เค้าจะพาทีมนักเรียนออกจากห้องเรียน ออกจากโรงเรียน ออกจากเขตพื้นที่ ไปสู่สนามแข่งขันหรือไม่ มีปัจจัยมากมายที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรที่ต้องใช้ ทัศนคติต่อการแข่งขัน ความคิดเห็นของผู้ปกครอง ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวนคุณครู หรือ จำนวนนักเรียน ต่อรายการแข่งขันเหล่านั้น ซึ่ง สรุปได้ว่า ชีวิตคือการแข่งขัน และ ผู้ชนะคือผู้ที่ทำได้สำเร็จ ส่วนผู้ที่ไม่มาแข่งขัน เขาอาจทำอย่างอื่นที่เห็นว่าสำคัญกว่าก็ได้ เพราะ เรื่องที่สำคัญสำหรับแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป
ะบบสารสนเทศ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน จังหวัดลำปาง โดย ผู้ดูแลระบบ : ครูศิวดล กุลฤทธิกร และ ครูอภิญญา ทะแกล้วพันธุ์ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง ออกแบบกราฟิก : ครูบุศรินทร์ เหมทานนท์ โรงเรียนเกาะคาวิทยาคม จังหวัดลำปาง
หลักสูตรหลักทางด้านการคำนวณ
หลักสูตรหลักทางด้านการคำนวณ [patanasongsivilai.com]
1. วิทยาการคอมพิวเตอร์ (CS)
2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CE)
3. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SE)
4. เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
5. ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ (IS)
ชวนมองเพิ่มเติม: วิศวกรรมไฟฟ้า (EE)
14
กลุ่มคุณครู
คุณครู คือ กลุ่มคนที่สร้างเครือข่ายได้ทรงพลังที่สุด เพราะมีสังกัดเดียวกัน ทำงานใต้ระบบเดียวกัน และเป้าหมายเดียวกัน นับเป็นประชากรไทยประมาณ 1% ที่ทำงานอยู่ในโรงเรียน จำนวน 35,202 โรงเรียน ในปี 2563 มีจำนวนครูทุกสังกัดรวมกัน 665,420 คน ดูแลนักเรียน 9,874,293 คน คิดเป็นอัตราส่วนนักเรียน 14.84 คนต่อครูหนึ่งคน

Thaijo - 1140
  1. แบ่งปันสื่อการเรียนรู้ By Kru Netto
    251.0K
  2. ปันสื่อการสอน By Kru Jay
    210.5K
  3. ห้องแบ่งปันสื่อการเรียนการสอน
    159.5K
  4. กลุ่ม ร่วมแลกเปลี่ยนวิทยฐานะ ว.23,ว.21,ว.17 สู่ ว.PA by ครูมนตรี นันไชย
    135.0K
  5. กลุ่มเพื่อนครูปฐมวัย
    117.8K
  6. ชมรมครูภาษาไทย ป.1-ป.3
    113.7K
  7. สื่อปฐมวัย by ครูหญิง
    97.6K
  8. ครูSTORY เรื่องราวของครูเล่าสู่กันฟัง
    88.3K
  9. VIP ห้องสื่อครูคอม
    81.9K
  10. บ้านสื่อเพื่อนครูปฐมวัย
    71.6K
  11. ย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการครู
    66.7K
  12. แหล่งรวมสื่อทำมือสร้างสรรค์
    54.9K
  13. โปรแกรมสำหรับครู [App4Teacher]
    54.2K
  14. ห้องสื่อครูบาส (ตัวอย่างสื่อ) สำเร็จ
    50.9K
  15. แบ่งปันสื่อ ใบงานภาษาอังกฤษครูจีจี้
    50.2K
  16. PLC ครูภาษาอังกฤษ
    41.4K
  17. ครูปล่อยของ (เพื่อนพลเรียน)
    37.3K
  18. ห้องสือครูพิมพ์_VIP
    33.6K
  19. ชมรมครูสังกัดกรุงเทพมหานครออนไลน์
    33.0K
  20. ครูอภิวัฒน์"สอนสร้างสื่อ"
    29.7K
  21. แบ่งปันแผนการสอน สื่อสังคมศึกษา
    27.5K
  22. สื่อดนตรี-นาฏศิลป์
    21.5K
  23. สื่อการสอน ข่าวการศึกษา แบบทดสอบออนไลน์ เลื่อนวิทยฐานะ By ครูมาแล้ว
    20.8K
  24. ครูนอกกรอบ
    19.2K
  25. ส่งต่อชุดทำงานคุณครูมือสอง
    12.5K
  26. Dek อยากเป็นครู แชร์ข้อสอบ TCAS PAT5
    5.3K
  27. ครูแนะแนว - Eduzones.com
    2.0K
ปรับปรุง 21 ธ.ค.64
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ: 1096 มิลลิวินาที สูง: 16665 จุด กว้าง: 1264 จุด
Thaiall.com
Thailand Web Stat